วันอังคารที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

เนื้อหาสัปดาห์ที่ 1


การเคลื่อนไหวร่างกายในชีวิตประจำวัน

    เป็นการเคลื่อนไหวที่ใช้อยู่ประจำวัน  ได้แก่  การยืน  การเดิน  การวิ่ง  การกระโดด  การเขย่ง  การจับการดึงการยกเป็นต้นซึ่งการเคลื่อนไหวเหล่านี้จะใช้เป็นประจำ การปฏิบัติที่ถูกวิธีก็จะช่วยให้ความสามารถและประสิทธิภาพการใช้งานดีขึ้นและใช้งานได้ยาวนาน ตรงกันข้ามถ้าใช้งานไม่ถูกวิธีก็จะส่งผลต่อประสิทธิภาพการใช้งานลดลงด้วย ในวัยเด็ก  และวัยหนุ่มสาวมักไม่พบปัญหาจากการใช้
การเคลื่อนไหวในชีวิตประจำวันไม่ถูกต้องไม่มากนัก  แต่จะส่งผลในช่วงที่มีอายุมากขึ้นเมื่อสภาพของ
ร่างกายและอวัยวะต่าง ๆ  เริ่มเสื่อมลง

การเคลื่อนไหวประกอบกิจกรรม


   การเคลื่อนไหวในการประกอบกิจกรรมเป็นลักษณะของการเคลื่อนไหวเฉพาะแบบในการนำมาใช้ในการ  ออกกำลังกายหรือเล่นกีฬาชนิดนั้น ๆ  เช่น  การวิ่งการเคลื่อนที่แบบการก้าวเท้าตามกัน  (SLIDE)  การกระโดดในลักษณะต่าง ๆ ตามลักษณะกีฬา  ซึ่งลักษณะของการกระโดดจะเป็นลักษณะเฉพาะ  เช่น  การกระโดดในกีฬา   บาสเกตบอล   การกระโดดในกีฬาวอลเลย์บอลมีลักษณะไม่เหมือนกัน  นอกจากการเคลื่อนไหวลักษณะเฉพาะ   ในการออกกำลังกายหรือการเล่นกีฬาและยังมีการเคลื่อนไหวในการทำงานหรือกิจกรรมเฉพาะบุคคล  ได้แก่  การ   ทำงานบ้าน  การกวาดถูบ้าน  การขี่จักรยาน  การขับรถ  การพายเรือ  ฯลฯ
       
        การเคลื่อนไหว สามารถแบ่งออกได้ ดังนี้

แบบอยู่กับที่  เช่น ก้มหน้า ผลัก ดัน
แบบเคลื่อนที่ เช่น วิ่ง เดิน กระโดด
แบบใช้อุปกรณ์ เช่น กระโดดเชือก ไต่เชือก


                                                   การเคลื่อนไหวอยู่กับที่


การเคลื่อนไหวร่างกายแบบอยู่กับที่ เป็นการเคลื่อนไหวที่ปฎิบัติโดยไม่มีการเคลื่อนที่ของร่างกาย เช่น การก้มหน้า การบิดตัว การยกเข่าไปด้านหลังเป็นต้น
ก่อนการฝึกกิจกรรมพลศึกษาทุกครั้ง เราต้องมีการเตรียมความพร้อมให้กับร่างกาย เพื่อป้องกันการบาดเจ็บของเอ็นและกล้ามเนื้อ ซึ่งการเตรียมความพร้อมนี้ เรียกว่า การอบอุ่นร่างกาย
วิธีอบอุ่นร่างกายมีหลายวิธี เช่น หมุนคอ หมุนไหล่ ย่ำเท้าอยู่กับที่เป็นต้น การอบอุ่นร่างกาย ควรทำอย่างน้อยท่าละ ๑๐ ครั้ง และหลังจากอบอุ่นร่างกายเสร็จแล้ว ให้พักสักครู่ก่อนเริ่มฝึกกิจกรรมขั้นต่อไป
๑. การเคลื่อนไหวร่างกายขณะนอน
การเคลื่อนไหวร่างกายขณะนอน มีวิธีปฏิบัติหลายแบบ เช่น
๑. นอนพลิกตัวคว่ำหงายสลับกัน นอนหงายเหยียดขาตรงและเหยียดแขนตรงขึ้นเหนือศีรษะ แล้วพลิกตัวจากนอนหงายเป็นคว่ำ จากนอนคว่ำเป็นหงายสลับกัน
๒. นอนยกขาซ้าย ขวาสลับกัน นอนหงายเหยียดขาตรง ยกขาซ้ายใช้มือขวาและปลายเท้าแลวางลง แล้วยากขาขวาใช้มือซ้ายแตะปลายเท้าและวางลง
๓. นอนยกขาข้ามศีรษะ นอนหงายเหยียดแขนและขาให้ตรงยกขาทั้งสองข้ามศีรษะจนปลายเท้าแตะพื้น ทำค้างไว้ชั่วขณะหนึ่ง
๒. การเคลื่อนไหวร่างกายขณะนั่ง
การเคลื่อนไหวร่างกายขณะนั่ง มีวิธีฝึก เช่น
๑. นั่ง-ลุก นั่งยอง ๆ มือเท้าสะเอว แล้วลุกขึ้นยืน โดยให้ลำตัวตั้งตรง
๒. นอน นั่ง นอนหงายมือประสานกันไว้ที่ท้ายทอย แล้วลุกขึ้นนั่ง
๓. นั่งรูปตัววี นั่งเหยียดขาให้ตรง ยกขาทั้งสองข้างขึ้น แล้วเอามือจับไว้ ทำค้างไว้ชั่นขณะหนึ่ง
๓. การเคลื่อนไหวร่างกายขณะยืน
การเคลื่อนไหวร่างกายขณะยืน มีวิธีฝึกปฎิบัติหลายแบบ เช่น
๑. ยืนเขย่งปลายเท้าขึ้น-ลง ยืนตรงมือเท้าสะเอว แล้วเขย่งปลายเท้าขึ้น-ลงสลับกัน
๒. ก้มแตะปลายเท้าสลับกัน กางแขนแล้วก้มตัวเอามือขวาแตะปลายเท้าซ้าย และเอามือซ้ายและปลายเท้าขวาสลับกัน
๓. ยืนยกเท้าแตะปลายมือ ยืนตรงเหยียดแขนขวาไปข้างหน้า แล้วยกเท้าซ้ายแตะปลายมือ ทำค้างไว้ชั่วขณะหนึ่ง จากนั้นสลับทำเท้าขวา
ถ้านักเรียนต้องการฝึกกิจกรรมเพิ่มเติม อาจขอให้ครูหรือผู้ปกครองแนะนำกิจกรรมการเคลื่อนไหว แล้วฝึกตามขั้นตอนโดยฝึกซ้ำ ๆ
ในการดำเนินชีวิตประจำวันของเรา ต้องอาศัยทักษะในการเคลื่อนไหวของร่างกายเข้ามาเกี่ยวข้องอยู่เสมอ เช่น การเดิน การวิ่ง การยก การดึง เป็นต้น

 




 
การเคลื่อนไหวแบบเคลื่อนที่ (Locomotor  Movement)
หมายถึง  การเคลื่อนไหวร่างกายที่ผู้ปฏิบัติเคลื่อนย้ายร่างกายจากตำแหน่งหนึ่งไปยังอีกตำแหน่งหนึ่ง  เช่น  การเดิน  การวิ่ง    การกระโดดไปข้างหน้า









 การเคลื่อนไหวประกอบอุปกรณ์  (Manipulative) 

 หมายถึง  การเคลื่อนไหวร่างกายที่ผู้ปฏิบัติใช้ร่างกายบังคับหรือควบคุมวัตถุประกอบในการเคลื่อนไหว  ซึ่งเกี่ยวข้องกับมือและเท้าประกอบการเคลื่อนไหว  ได้แก่  กิจกรรมการเล่นกีฬา  กิจกรรมต่าง ๆ
ในชีวิตประจำวัน
  
 

  แหล่งที่มา http://202.143.163.245/cai/ta/501/__2.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น