วันอังคารที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

เนื้อหาสัปดาห์ที่ 1


การเคลื่อนไหวร่างกายในชีวิตประจำวัน

    เป็นการเคลื่อนไหวที่ใช้อยู่ประจำวัน  ได้แก่  การยืน  การเดิน  การวิ่ง  การกระโดด  การเขย่ง  การจับการดึงการยกเป็นต้นซึ่งการเคลื่อนไหวเหล่านี้จะใช้เป็นประจำ การปฏิบัติที่ถูกวิธีก็จะช่วยให้ความสามารถและประสิทธิภาพการใช้งานดีขึ้นและใช้งานได้ยาวนาน ตรงกันข้ามถ้าใช้งานไม่ถูกวิธีก็จะส่งผลต่อประสิทธิภาพการใช้งานลดลงด้วย ในวัยเด็ก  และวัยหนุ่มสาวมักไม่พบปัญหาจากการใช้
การเคลื่อนไหวในชีวิตประจำวันไม่ถูกต้องไม่มากนัก  แต่จะส่งผลในช่วงที่มีอายุมากขึ้นเมื่อสภาพของ
ร่างกายและอวัยวะต่าง ๆ  เริ่มเสื่อมลง

การเคลื่อนไหวประกอบกิจกรรม


   การเคลื่อนไหวในการประกอบกิจกรรมเป็นลักษณะของการเคลื่อนไหวเฉพาะแบบในการนำมาใช้ในการ  ออกกำลังกายหรือเล่นกีฬาชนิดนั้น ๆ  เช่น  การวิ่งการเคลื่อนที่แบบการก้าวเท้าตามกัน  (SLIDE)  การกระโดดในลักษณะต่าง ๆ ตามลักษณะกีฬา  ซึ่งลักษณะของการกระโดดจะเป็นลักษณะเฉพาะ  เช่น  การกระโดดในกีฬา   บาสเกตบอล   การกระโดดในกีฬาวอลเลย์บอลมีลักษณะไม่เหมือนกัน  นอกจากการเคลื่อนไหวลักษณะเฉพาะ   ในการออกกำลังกายหรือการเล่นกีฬาและยังมีการเคลื่อนไหวในการทำงานหรือกิจกรรมเฉพาะบุคคล  ได้แก่  การ   ทำงานบ้าน  การกวาดถูบ้าน  การขี่จักรยาน  การขับรถ  การพายเรือ  ฯลฯ
       
        การเคลื่อนไหว สามารถแบ่งออกได้ ดังนี้

แบบอยู่กับที่  เช่น ก้มหน้า ผลัก ดัน
แบบเคลื่อนที่ เช่น วิ่ง เดิน กระโดด
แบบใช้อุปกรณ์ เช่น กระโดดเชือก ไต่เชือก


                                                   การเคลื่อนไหวอยู่กับที่


การเคลื่อนไหวร่างกายแบบอยู่กับที่ เป็นการเคลื่อนไหวที่ปฎิบัติโดยไม่มีการเคลื่อนที่ของร่างกาย เช่น การก้มหน้า การบิดตัว การยกเข่าไปด้านหลังเป็นต้น
ก่อนการฝึกกิจกรรมพลศึกษาทุกครั้ง เราต้องมีการเตรียมความพร้อมให้กับร่างกาย เพื่อป้องกันการบาดเจ็บของเอ็นและกล้ามเนื้อ ซึ่งการเตรียมความพร้อมนี้ เรียกว่า การอบอุ่นร่างกาย
วิธีอบอุ่นร่างกายมีหลายวิธี เช่น หมุนคอ หมุนไหล่ ย่ำเท้าอยู่กับที่เป็นต้น การอบอุ่นร่างกาย ควรทำอย่างน้อยท่าละ ๑๐ ครั้ง และหลังจากอบอุ่นร่างกายเสร็จแล้ว ให้พักสักครู่ก่อนเริ่มฝึกกิจกรรมขั้นต่อไป
๑. การเคลื่อนไหวร่างกายขณะนอน
การเคลื่อนไหวร่างกายขณะนอน มีวิธีปฏิบัติหลายแบบ เช่น
๑. นอนพลิกตัวคว่ำหงายสลับกัน นอนหงายเหยียดขาตรงและเหยียดแขนตรงขึ้นเหนือศีรษะ แล้วพลิกตัวจากนอนหงายเป็นคว่ำ จากนอนคว่ำเป็นหงายสลับกัน
๒. นอนยกขาซ้าย ขวาสลับกัน นอนหงายเหยียดขาตรง ยกขาซ้ายใช้มือขวาและปลายเท้าแลวางลง แล้วยากขาขวาใช้มือซ้ายแตะปลายเท้าและวางลง
๓. นอนยกขาข้ามศีรษะ นอนหงายเหยียดแขนและขาให้ตรงยกขาทั้งสองข้ามศีรษะจนปลายเท้าแตะพื้น ทำค้างไว้ชั่วขณะหนึ่ง
๒. การเคลื่อนไหวร่างกายขณะนั่ง
การเคลื่อนไหวร่างกายขณะนั่ง มีวิธีฝึก เช่น
๑. นั่ง-ลุก นั่งยอง ๆ มือเท้าสะเอว แล้วลุกขึ้นยืน โดยให้ลำตัวตั้งตรง
๒. นอน นั่ง นอนหงายมือประสานกันไว้ที่ท้ายทอย แล้วลุกขึ้นนั่ง
๓. นั่งรูปตัววี นั่งเหยียดขาให้ตรง ยกขาทั้งสองข้างขึ้น แล้วเอามือจับไว้ ทำค้างไว้ชั่นขณะหนึ่ง
๓. การเคลื่อนไหวร่างกายขณะยืน
การเคลื่อนไหวร่างกายขณะยืน มีวิธีฝึกปฎิบัติหลายแบบ เช่น
๑. ยืนเขย่งปลายเท้าขึ้น-ลง ยืนตรงมือเท้าสะเอว แล้วเขย่งปลายเท้าขึ้น-ลงสลับกัน
๒. ก้มแตะปลายเท้าสลับกัน กางแขนแล้วก้มตัวเอามือขวาแตะปลายเท้าซ้าย และเอามือซ้ายและปลายเท้าขวาสลับกัน
๓. ยืนยกเท้าแตะปลายมือ ยืนตรงเหยียดแขนขวาไปข้างหน้า แล้วยกเท้าซ้ายแตะปลายมือ ทำค้างไว้ชั่วขณะหนึ่ง จากนั้นสลับทำเท้าขวา
ถ้านักเรียนต้องการฝึกกิจกรรมเพิ่มเติม อาจขอให้ครูหรือผู้ปกครองแนะนำกิจกรรมการเคลื่อนไหว แล้วฝึกตามขั้นตอนโดยฝึกซ้ำ ๆ
ในการดำเนินชีวิตประจำวันของเรา ต้องอาศัยทักษะในการเคลื่อนไหวของร่างกายเข้ามาเกี่ยวข้องอยู่เสมอ เช่น การเดิน การวิ่ง การยก การดึง เป็นต้น

 




 
การเคลื่อนไหวแบบเคลื่อนที่ (Locomotor  Movement)
หมายถึง  การเคลื่อนไหวร่างกายที่ผู้ปฏิบัติเคลื่อนย้ายร่างกายจากตำแหน่งหนึ่งไปยังอีกตำแหน่งหนึ่ง  เช่น  การเดิน  การวิ่ง    การกระโดดไปข้างหน้า









 การเคลื่อนไหวประกอบอุปกรณ์  (Manipulative) 

 หมายถึง  การเคลื่อนไหวร่างกายที่ผู้ปฏิบัติใช้ร่างกายบังคับหรือควบคุมวัตถุประกอบในการเคลื่อนไหว  ซึ่งเกี่ยวข้องกับมือและเท้าประกอบการเคลื่อนไหว  ได้แก่  กิจกรรมการเล่นกีฬา  กิจกรรมต่าง ๆ
ในชีวิตประจำวัน
  
 

  แหล่งที่มา http://202.143.163.245/cai/ta/501/__2.html

วันจันทร์ที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

เนื้อหาสัปดาห์ที่ 2



                                                  เกมเบ็ดเตล็ด

การเล่นเกมเบ็ดเตล็ด เป็นการออกกำลังกายที่ทำให้ร่างกายแข็งแรง ทำให้เกิดความสนุกสนาน มีระเบียบวินัย และทำงานร่วมกับผู้อื่นได้



วันอาทิตย์ที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

กิจกรรมการเรียนรู้



กิจกรรมการเรียนรู้


1.ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน
     1.1 ทำความรู้จัก โดยการแนะนำชื่อของนักเรียน และแนะนำชื่อครูผู้สอนให้นักเรียนรู้จัก     
     1.2 ถามถึงลักษณะและหน้าที่ของอวัยวะภายนอกและวิธีดูแลรักษาอวัยวะภายนอก
     1.3 ทำแบบทดสอบก่อนเรียน โดยใช้ weblog


2.ขั้นสอน


    2.1 เข้าไปศึกษาเนื้อหาใน weblog   http://sakulsak.blogspot.com/2012/02/blog-post_4014.html
หัวข้อการศึกษา
    สัปดาห์ที่ 1 
               1.อธิบายการเคลื่อนไหวร่างกายขณะอยู่กับที่ เคลื่อนที่และใช้อุปกรณ์ประกอบ 
    สัปดาห์ที่ 2
               2.การเล่นเกมเบ็ดเตล็ดและเข้าร่วมกิจกรรมทางกายที่ใช้การเคลื่อนไหวตามธรรมชาติ                  
3.ขั้นสรุป
     3.1 ทบทวนบทเรียนทั้งหมด โดยการพูดไปซักถามนักเรียนไปด้วย
     3.2 เปิดโอกาสให้นักเรียนซักถามในข้อที่สงสัย


4.ขั้นประเมินผล
  
     4.1 ทำแบบทดสอบหลังเรียน
                         

วันเสาร์ที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

แผนการเรียนรู้





แผนการเรียนรู้การเรียนการสอนโดยใช้นวัตกรรม Weblog

วิชา พลศึกษา สาระที่ 3 เรื่อง การเคลื่อนไหว  การออกกำลังกาย  การเล่นเกม  กีฬาไทย  และกีฬาสากล

มาตรฐาน พ.3.1 เรื่อง เข้าใจ  มีทักษะในการเคลื่อนไหว  กิจกรรมทางกาย  การเล่นเกม  และกีฬา

ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1



สัปดาห์ที่ 1           ตัวชี้วัดที่ 1 สาระแกนกลาง ธรรมชาติของการเคลื่อนไหวร่างกายในชีวิตประจำวัน
                                                            -  แบบอยู่กับที่  เช่น นั่ง  ยืน  ก้มเงย  เอียง  ซ้าย ขวา  เคลื่อนไหวข้อมือ   
                                                               ข้อเท้า  แขน  ขา
                                                            -  แบบเคลื่อนที่ เช่น เดิน  วิ่ง  กระโดด  กลิ้งตัว
                                                            -  แบบใช้อุปกรณ์ประกอบ เช่น จับ โยน  เตะ  เคาะ
                                

สัปดาห์ที่ 2           ตัวชี้วัดที่ 2 สาระแกนกลาง  กิจกรรมทางกายที่ใช้ในการเคลื่อนไหวตามธรรมชาติ                                                                                        - การเล่นเกมเบ็ดเตล็ด
จุดประสงค์การเรียนรู้

1.สามารถอธิบายการเคลื่อนไหวร่างกายขณะอยู่กับที่ เคลื่อนที่และใช้อุปกรณ์ประกอบได้
2.สามารถเล่นเกมเบ็ดเตล็ดและเข้าร่วมกิจกรรมทางกายที่ใช้การเคลื่อนไหวตามธรรมชาติได้  


สื่อการเรียนการสอน


         http://sakulsak.blogspot.com/
     



กิจกรรมการเรียนรู้

1.ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน

     1.1 ทำความรู้จัก โดยการแนะนำชื่อของนักเรียน และแนะนำชื่อครูผู้สอนให้นักเรียนรู้จัก     

     1.2 ถามถึงลักษณะและหน้าที่ของอวัยวะภายนอกและวิธีดูแลรักษาอวัยวะภายนอก


    1.3 ทำแบบทดสอบก่อนเรียน โดยใช้ weblog


2.ขั้นสอน
   
หัวข้อการศึกษา
สัปดาห์ที่ 1

      1.อธิบายถึงการเคลื่อนไหวร่างกายขณะอยู่กับที่ เคลื่อนที่และใช้อุปกรณ์ประกอบ


สัปดาห์ที่ 2

      2. เล่นเกมเบ็ดเตล็ดและเข้าร่วมกิจกรรมทางกายที่ใช้การเคลื่อนไหวตามธรรมชาติ

3.ขั้นสรุป

     3.1 ทบทวนบทเรียนทั้งหมด โดยการพูดไปซักถามนักเรียนไปด้วย

     3.2 เปิดโอกาสให้นักเรียนซักถามในข้อที่สงสัย



4.การประเมินผล

วันศุกร์ที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

ประมวลรายวิชา




ประมวลรายวิชา (Course syllabus)


สารการเรียนรู้      พลศึกษา

สาระที่   3            การเคลื่อนไหว  การออกกำลังกาย  การเล่นเกม  กีฬาไทย  และกีฬาสากล

มาตรฐาน พ3.1      เข้าใจ  มีทักษะในการเคลื่อนไหว  กิจกรรมทางกาย  การเล่นเกม  และกีฬา


ตัวชี้วัด            1. เคลื่อนไหวร่างกายขณะอยู่กับที่  เคลื่อนที่และใช้อุปกรณ์ประกอบ
                        
                      2. เล่นเกมเบ็ดเตล็ดและเข้าร่วมกิจกรรมทางกายที่ใช้การเคลื่อนไหวตามธรรมชาติ

สาระแกนกลาง      ธรรมชาติของการเคลื่อนไหวร่างกายในชีวิตประจำวัน
                             -  แบบอยู่กับที่  เช่น นั่ง  ยืน  ก้มเงย  เอียง  ซ้าย ขวา  เคลื่อนไหวข้อมือ   
                                ข้อเท้า  แขน  ขา
                             -  แบบเคลื่อนที่ เช่น เดิน  วิ่ง  กระโดด  กลิ้งตัว
                             -  แบบใช้อุปกรณ์ประกอบ เช่น จับ โยน  เตะ  เคาะ
                                
                            กิจกรรมทางกายที่ใช้ในการเคลื่อนไหวตามธรรมชาติ
                             -  การเล่นเกมเบ็ดเตล็ด

ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1

โครงสร้างเนื้อหาและปฏิทินการเรียน

สัปดาห์ที่ ๑    อธิบายการเคลื่อนไหวร่างกายขณะอยู่กับที่ เคลื่อนที่และใช้อุปกรณ์ประกอบ 
                                                                                               (ทฤษฏี 30 นาที)
                                                                                                                                                                                                                                                                (ปฏิบัติ   30 นาที)


สัปดาห์ที่ ๒    การเล่นเกมเบ็ดเตล็ดและเข้าร่วมกิจกรรมทางกายที่ใช้การเคลื่อนไหวตาม
                        ธรรมชาติ                                                        (ทฤษฏี 30 นาที)
                                       
                                                                               (ปฏิบัติ  30 นาที)


รูปแบบการเรียน

การเรียนแบบผสมผสาน         สัดส่วนของการจัดการเรียน         70 % ในชั้นเรียน

                                                                                  30 % ออนไลน์

                                                                                                   

สื่อทางอินเทอร์เน็ต  http://sakulsak.blogspot.com/

การวัดและประเมินผล  ข้อสอบออนไลน์โดยใช้ กูเกิลฟอร์ม ในการจัดทำข้อสอบ เพื่อวัดผลการเรียนของนักเรียน

วันพฤหัสบดีที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

โครงงาน

โครงงานออกแบบระบบการเรียนการสอนโดยใช้นวัตกรรม weblog
วิชาพลศึกษา

เสนอโดย
นายสกุลศักดิ์ ทาขุลี รหัสประจำตัวนักศึกษา 53161301059

1. หลักการและเหตุผล
               
                เทคโนโลยีเป็นส่วนหนึ่งกับการศึกษาอย่างมากในขณะนี้  ซึ่งเทคโนโลยีได้เข้ามามีบทบาทในการเรียนการสอน และทั้งทั้งเกี่ยวกับการเรียนการศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับข้อมูลต่างๆที่เราต้องการ เทคโนโลยีมีส่วนสำคัญต่อการดำรงชีวิตและมีความสะดวกรวดเร็วในการค้นหาข้อมูลไม่ต้องเปิดหาตามหนังสือเหมือนแก่ก่อนกานนำเอาเทคโนโลยีมาเป็นสื่อในการสอนเป็นทางเลือกในการสอนอีกทางหนึ่งที่ได้รับความนิยมมาก และมีความสะดวกของครูผู้สอนและผู้เรียนเพื่อใช้ในการศึกษาในวิชานั้นๆและเพื่อเป็นการส่งเสริมให้ผู้เรียนได้ใช้สื่อนวัตกรรม Weblog เป็น สื่อการเรียนการสอนได้อย่างชำนาญ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันของผู้เรียน จึงได้จัดทำสื่อการเรียนของรายวิชา โดยใช้นวัตกรรม weblog มา เป็นสื่อการเรียนการสอน สำหรับวิชาสุขศึกษา เพื่อเป็นการทดลองใช้สื่อการสอนกับผู้เรียนในชั้นเรียน และนอกชั้นเรียน ให้เข้าถึงจุดประสงค์และศึกษารายวิชาสุขศึกษาได้ด้วยตนเอง

2. วัตถุประสงค์

                สร้างเพื่อใช้เป็นสื่อการสอน
3. เป้าหมาย

                ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1

4. วิธีดำเนินงาน
           
           4.1  วิเคราะห์หลักสูตรแกนกลางสาระวิชาพลศึกษา
           4.2 เชียนโครงงาน                      
           4.3 ออกแบบระบบการสอน
            4.4 เขียนประมวลรายวิชาและแผนการเรียนรู้
           4.5 กำหนดเนื้อหาและกิจกรรมการเรียน
           4.6 สร้างแบบทดสอบออนไลน์
           4.7 สร้าง web Blog และนำข้อมูลในข้อ 2-6 ขึ้นเว็บ

    

5. ผู้รับผิดชอบโครงการ

                นาย  สกุลศักดิ์   ทาขุลี ชั้นปีที่ 2/2 เลขที่ 20 คณะศึกษาศาสตร์ รหัสนักศึกษา 53161301059 สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตอุดรธานี


6.งบประมาณ

                ไม่มี

7. สถานที่ดำเนินการ
                     1) ระบบ Internet ซึ่งดำเนินการติดตั้ง และดูแลโดยสถาบันการพลศึกษาวิทยาเขตอุดรธานี
                     2) weblog ที่ให้บริการโดย Google

8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

                ได้สื่อการสอน นวัตกรรม Web blog วิชาพลศึกษา

9.ที่ปรึกษาโครงงาน
              อ.สุวลัยพร พันธ์โยธี